เด็กฝึกงาน.com

7 พฤติกรรมที่ไม่ควรทำ ตอนสัมภาษณ์งาน

  • บทความนักศึกษา
  • 17/5/17
  • 18,883
7 พฤติกรรมที่ไม่ควรทำ ตอนสัมภาษณ์งาน

พฤติกรรมที่ไม่ควรทำ ระหว่างสัมภาษณ์งาน คือ...

          การสัมภาษณ์งาน พี่เชื่อว่า ทุกคนที่ทำงานแล้วจะต้องมีประสบการณ์กันทั้งนั้น ถ้าเตรียมตัวดี บุคคลิกดี และคุณสมบัติตรงกับความต้องการของนายจ้าง ก็จะมีโอกาสที่ทำให้ได้งานสูง แต่การสัมภาษณ์ ก็มีสิ่งที่ไม่สมควรทำอย่างยิ่ง ครั้งนี้พี่มีบทสัมภาษณ์ จากเหล่าพี่ๆ HR ถึงพฤติกรรมที่รับไม่ได้ของน้องๆ รุ่นใหม่มาสัมภาษณ์งาน นำมาบอกต่อน้องๆ เพื่อที่จะได้ไม่พลาดโอกาสดีๆ ไปนะครับ

ขาดความรู้เกี่ยวกับองค์กร

คุณต้องเตรียมความพร้อมในการตอบคำถาม ต้องศึกษาประวัติขององค์กรที่คุณจะไปสัมภาษณ์มาบ้าง อย่างเช่น องค์กรทำอะไร มีสินค้าตัวไหนบ้าง ใครคือผู้บริหาร และประวัติความเป็นมาคร่าวๆ เพื่อตอนผู้สัมภาษณ์ถามได้รู้ว่าเราเตรียมตัวมาพร้อมและให้ความสนใจกับองค์กรของเขา และนี่เป็นหนึ่งในการตัดสินใจที่จะรับคุณเข้าทำงานด้วย


แต่งตัวไม่เหมาะสม

ด้านการแต่งกายก็เป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญ เพราะเป็นการบ่งบอกเลยว่าคุณมีความพร้อมแค่ไหนเพียงเเค่มองเห็นในตอนแรก คงจะไม่ดีดีแน่ๆถ้าใส่เสื้อแขนกุดนุ่งสั้น ใส่กางเกงสีฉูดฉาด หรือเสื้อผ้ายับยู่ยี่ การแต่งกายนั้นต้องมีสุภาพและดูเป็นสากล อย่างผู้หญิง ควรใส่กระโปรงสีพื้น เสื้อเชิ้ดสีขาวหรือสีเรียบๆ ผู้ชาย ควรใส่กางเกงสีพื้น เสื้อเชิ้ดสีขาว หรือสีเรียบๆ และผูกเนคไทให้เรียบร้อย แค่การแต่งตัวให้ดูดีจะช่วยทำให้คุณมีบุคลิกภาพที่ดีได้


เรียกร้องรายได้ขนาดที่ผู้สัมภาษณ์ยังไม่ได้ถาม

เป็นสิ่งที่ไม่ควรทำอย่างยิ่งในการหยิบยกเรื่อง เงินเดือน มาพูดก่อนในขณะที่ ผู้สัมภาษณ์ยังไม่ได้ถาม เพราะ เขาจะมองว่าคุณให้ความสำคัญกับเรื่องของเงินมากกว่าเนื้องาน และมันไม่ใช่หน้าที่ของเราที่จะต้องถามก่อน เพราะนายจ้างหรือผู้สัมภาษณ์เขาจะเป็นฝ่ายถามเอง และตอนนั้นคุณจึงตอบตามความเหมาะสม และไม่ควรเรียกเงินเดือนที่มากเกินขอบเขต ต้องดูจาก ความสามารถและประสบการณ์


พูดแทรก พูดอวยตัวเอง

เมื่อผู้สัมภาษณ์ถาม คุณไม่ควรพูดสอดขึ้นมา ควรเว้นระยะอาจจะรอจนกว่าผู้สัมภาษณ์จะพูดจบก่อน แล้วค่อยถาม และ การเสนอตัวเองควรมีขอบเขต อย่าอวยตัวเองมากเกินไป ไม่ยอมพูดถึงข้อเสียของตัวเอง  และมีอีโก้สูงนั้นมันจะทำให้คุณทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ยาก ให้คุณพูดในระดับพอดี บอกถึงสิ่งที่คุณถนัด และอ่อนน้อมถ่อมตัวบ้าง ทุกหลังประโยคที่คุณพูดควรมีคำว่า ค่ะ/ครับ

ถามเรื่องวันหยุดลา เวลามาสาย

ตอนท้ายของการสัมภาษณ์ ผู้ให้สัมภาษณ์จะเปิดโอกาสให้คุณถามคำถาม คุณก็ควรมีคำถามอยู่ในใจบ้าง อาจเป็นเรื่องเกี่ยวกับตำแหน่งงาน เรื่องระเบียบองค์กร แต่ถ้าคุณหยิบยกถามเรื่องวันหยุด วันลา ได้เท่าไร มาสายได้กี่โมง คงไม่ดีแน่ๆ เพราะผู้สัมภาษณ์จะคิดว่าคุณไม่มีความตั้งใจในการที่จะมาทำงานที่นี่ หรือถ้าอยากรู้จริงๆ ก็ควรจัดเรียงคำพูดให้ดูทางการ อย่างเช่น ถามเรื่องสวัสดิการต่างๆ


แสดงถึงทัศนะคติในแง่ลบ

การแสดงทัศนคติของแง่ลบต่อการทำงาน ตั้งแต่สัมภาษณ์ เป็นเรื่องที่ไม่ควรทำอย่างยิ่ง อย่างเช่น ถ้าหากนายจ้างถามถึงความสามารถของคุณ และบอกให้ไปเรียนรู้ในเรื่องนี้มา หากคุณ ตอบว่า คุณทำไม่ได้ หรือ ไม่ชอบ มันจะทำให้คุณดูเป็นคนไม่มีความพยายาม เมื่อเจอเหตุการณ์คล้ายๆแบบนี้ ควรพูดออกไปว่า ถึงจะไม่เคยได้ศึกษาเรื่องนี้มาก่อน แต่จะลองพยายามให้เต็มที่ และทำให้ดีที่สุด ซึ่งแน่นอน หากคุณได้รับโอกาสนี้ ตัวคุณก็ต้องพยายามมันให้เต็มที่จริงๆ


ถามเรื่องส่วนตัวของผู้สัมภาษณ์

ถึงบรรยายกาศในการสัมภาษณ์จะเป็นกันเอง ไม่ตึงเครียด และเมื่อผู้สัมภาษณ์เปิดโอกาสให้เราได้ซักถามเเล้ว จะมีบางคำถามที่ไม่ควรถามผู้สัมภาษณ์ อย่าง  “พี่ได้เลื่อนตำแหน่งเร็วไหม ?”, “เงินเดือนพี่เท่าไร ? ”แม้ว่าผู้สัมภาษณ์จะให้ความเป็นกันเอง คุยกันแบบพี่น้อง แต่เราก็ควรรู้ว่าอะไรควรและไม่ควร ถือเป็นอีกหนึ่งคุณสมบัติที่ควรมีไว้ จะทำให้การสัมภาษณ์เป็นไปได้อย่างราบรื่น

นอกจาก 7 อย่างนี้ที่พี่นำมาบอกแล้ว เคล็ดลับการที่จะทำให้น้อง ได้งานนั้น ยังมีปัจจัยอีกหลายอย่าง "อย่างการเขียนเรซูเม่ยังไงให้น่าสนใจ ดูเคล็ดลับการเขียนเรซูเม่  ก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ได้งานเช่นกัน และสิ่งที่ควรนำใส่กระเป๋าไปเยอะๆตอนไปสัมภาษณ์งาน ยิ่งเยอะเท่าไรยิ่งดี นั้นคือ ทัศนคติที่ดี! และความมั่นใจในตนเอง"

นศ.ฝึกงาน ที่สนใจหาสถานที่ฝึกงานสามารถ หาที่ฝึกงาน 2559 กับเรา ได้ที่เว็บไซต์เด็กฝึกงาน ศูนย์รวมที่ฝึกงานและสถานที่ฝึกงานมากมาย บริษัทที่ต้องการ ประกาศ ฝึกงาน รับนักศึกษาฝึกงาน สามารถมาประกาศฝึกงานฟรี กับเราได้ เพราะพวกเราเป็นแหล่งฝึกงานที่ดีที่สุดในประเทศไทย

ฝึกงาน สมัครงาน สัมภาษณ์งาน ฝ่ายบุคคล เด็กรุ่นใหม่