เด็กฝึกงาน.com
สำนักประธานศาลฎีกา
ประเภทธุรกิจ : บัญชี / ผู้ตรวจบัญชี, หน่วยงานรัฐบาล, กฎหมาย / ที่ปรึกษาทางธุรกิจ
แชร์สถานที่ทำงาน
เกี่ยวกับบริษัท

ส่วนช่วยอำนวยการ
(ง) ดำเนินการเกี่ยวกับการทำแผนงานและงบประมาณ รายงานผลการปฏิบัติรวมถึงการใช้จ่ายงบประมาณและสถิติของสำนัก ๑. รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในงานประจำ และงบโครงการของปีที่ผ่านมา เพื่อจัดทำคำขอตั้งงบประมาณและจัดทำโครงการ
๒. รวบรวมข้อมูลและศึกษาความต้องการครุภัณฑ์และอุปกรณ์สำนักงานต่างๆ ของแต่ละส่วนงาน
๓. จัดทำแผนงาน แผนความต้องการครุภัณฑ์ และจัดทำคำขอตั้งงบประมาณโครงการประจำปี
ตามแบบฟอร์มของสำนักแผนงานและงบประมาณ ซึ่งแบ่งออกเป็น
๓ ส่วน คือ
(๑) งบดำเนินการ
(๒) งบโครงการ
(๓) ความต้องการครุภัณฑ์
๔. ตรวจสอบ ควบคุม การใช้จ่ายเงินงบประมาณเบื้องต้น
๕. จัดทำหนังสือขอรับจัดสรรงบประมาณเพิ่มเติมระหว่างไตรมาสหากไม่เพียงพอ
๖. รายงานผลการใช้จ่ายเงิน งบประมาณทุกเดือนเสนอผู้บริหารทราบ และเพื่อเป็นข้อมูลบริหารงบประมาณ
๗. รวบรวมข้อมูลและรายงานผลการใช้จ่ายเงินงบประมาณประจำปี
(ไตรมาส ๑ – ๔) ส่งสำนักแผนงานและงบประมาณ

ส่วนกิจการประธานศาลฎีกาและรัฐพิธี
(ง) ดำเนินการเกี่ยวกับงานโฆษกและประชาสัมพันธ์ งานโสตทัศนศึกษา ให้กับประธานศาลฎีกาและรองประธานศาลฎีกา
1. ถ่ายภาพนิ่งงานภารกิจประธานศาลฎีกา รองประธานศาลฎีกา และผู้ได้รับมอบหมายจากประธานศาลฎีการวมถึงภารกิจของสำนักประธานศาลฎีกา
2. รวบรวม, คัดเลือก และจัดทำแฟ้มภาพถ่ายภารกิจประธานศาลฎีกา เพื่อใช้ในวาระโอกาสต่างๆ
3. จัดทำแผ่นข้อมูล (CD, DVD) ภารกิจของประธานศาลฎีกา และงานด้านอื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย
งานเผยแพร่ประชาสัมพันธ์
1. จัดทำข่าวประชาสัมพันธ์งานภารกิจของประธานศาลฎีกาเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ของสำนักประธานศาลฎีกา และวารสารของกองสารนิเทศและประชาสัมพันธ์
2. จัดทำป้ายฟิวเจอร์บอร์ด (future board) คำปราศัย คำถวายพระพร ฯลฯ ของประธานศาลฎีกา เพื่ออำนวยความสะดวกในการบันทึกเทปโทรทัศน์และสถานีวิทยุกระจายเสียง

ส่วนประสานนโยบาย
(ก) เสนอความเห็นประกอบการพิจารณาสั่งการของประธาน
ศาลฎีกา ในการกำหนดนโยบาย จัดทำนโยบาย
การประสานนโยบาย รวมทั้งติดตามผลการดำเนินงานตามนโยบายของประธานศาลฎีกา ๑. ค้นคว้ารวบรวมข้อมูลเพื่อประกอบการ
ยกร่างนโยบาย
๒. ยกร่างนโยบายเสนอผู้บริหารสำนักประธานศาลฎีกาตามลำดับชั้นพิจารณา
๓. รับร่างนโยบายที่ผู้บริหารฯ ตรวจแก้ไข
มาจัดพิมพ์แล้วทำบันทึกเสนอประธาน
ศาลฎีกาพิจารณา
๔. นำนโยบายที่ประธานศาลฎีกาเห็นชอบแล้วเสนอคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม
๕. เผยแพร่นโยบายประธานศาลฎีกาให้แก่
ศาลยุติธรรมและหน่วยงานในสังกัดสำนักงานศาลยุติธรรม โดยทางเว็ปไซต์สำนักประธานศาลฎีกา เว็ปไซต์ศาลยุติธรรม
๖. จัดแปลนโยบายประธานศาลฎีกาเป็นภาษาอังกฤษและจัดพิมพ์นโยบายทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษเผยแพร่ให้
ศาลยุติธรรมทั่วประเทศ
๗. จัดประชุมผู้บริหารศาลยุติธรรมทั่วประเทศและสำนักงานศาลยุติธรรม เพื่อมอบนโยบายประธานศาลฎีกา เป็นแนวทางในการปฏิบัติงานอย่างเป็นเอกภาพเดียวกัน
๘. ติดตามผลการดำเนินงานตามนโยบายประธานศาลฎีกาของศาลยุติธรรมทั่วประเทศและหน่วยงานในสังกัดสำนักงานศาลยุติธรรม
๙. รายงานผลการดำเนินงานตามนโยบายประธานศาลฎีกาแก่ประธานศาลฎีกา
(ข) ดำเนินการเกี่ยวกับงานเลขานุการคณะกรรมการและคณะกรรมการตามที่ได้รับมอบหมาย ๑. ยกร่างคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการ /คณะอนุกรรมการ /คณะทำงาน ฯลฯ
เสนอประธานศาลฎีกาเพื่อพิจารณาแต่งตั้ง
๒. แจ้งคำสั่งการแต่งตั้งคณะกรรมการ /คณะอนุกรรมการ /คณะทำงาน ไปยังบุคคลที่เกี่ยวข้อง
๓. ดำเนินการเกี่ยวกับงานเลขานุการคณะกรรมการฯ ในการประสานงานนัดประชุม จัดเตรียมเอกสารประกอบการประชุม เตรียมห้องประชุม ประสานงานระหว่างการประชุม ถอดเทปการประชุม จัดทำรายงานการประชุม ฯลฯ
(ค) ปฏิบัติงานวิเทศสัมพันธ์และนโยบายต่างประเทศของศาลฎีกา ๑. การรับรองแขกต่างประเทศที่เข้าเยี่ยมคารวะประธานศาลฎีกา
๑) รับเรื่องจากบุคคล/หน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมต่างประเทศ เช่น การประสงค์จะเข้าเยี่ยมคารวะประธาน
ศาลฎีกา หารือ เพื่อกำหนดแนวทางการปฏิบัติงานร่วมกัน
๒) ประสาน/ หาข้อมูล/ แปลข้อความของบุคคล หน่วยงานที่แจ้งความประสงค์ ประเด็นที่จะสนทนา หารือ เพื่อทำบันทึกข้อความ หรือเอกสารกราบเรียนประธานศาลฎีกา
๓) แจ้งบุคคล/หน่วยงานตามที่ประธาน
ศาลฎีกาโปรดพิจารณา

๔) อำนวยการด้านวิเทศสัมพันธ์ตามขั้นตอน กระบวนการอำนวยการ เพื่อการต้อนรับ
๕) จัดเตรียมของที่ระลึกให้ประธานศาลฎีกา เพื่อมอบแก่ผู้เข้าเยี่ยมคารวะ
๖) ดำเนินการจัดทำหนังสือรับรองของประธานศาลฎีกาให้แก่ผู้แจ้งความประสงค์ศึกษาต่อต่างประเทศ
๗) ประสานงานและอำนวยความสะดวกในการจัดเลี้ยงต้อนรับคณะชาวต่างประเทศที่มาคารวะประธานศาลฎีกา

๒. การดำเนินการเกี่ยวกับการเดินทางไปศึกษา
ดูงาน การเข้าร่วมประชุม/สัมมนา/อบรม
ณ ต่างประเทศ ของประธานศาลฎีกา/ผู้บริหารสำนักประธานศาลฎีกา
๑) ติดต่อประสานงานกับหน่วยงานในต่างประเทศเกี่ยวกับกำหนดการ รายชื่อคณะบุคคลที่ร่วมเดินทางไปราชการ
๒) จัดแปลเอกสารเกี่ยวกับการเดินทางศึกษาดูงาน การประชุม/การสัมมนา ฯลฯ เสนอประธานศาลฎีกาพิจารณา
๓) ประสานกองการต่างประเทศเกี่ยวกับการอนุมัติการเดินทาง และค่าใช้จ่ายในการเดินทาง
๔) ประสานสายการบินจองบัตรโดยสาร

๕) จัดทำบันทึกยืมเงินค่าใช้จ่ายในการเดินทางให้แก่คณะเดินทาง
๖) จัดทำรายงานการเดินทางให้แก่คณะเดินทาง
๓. แปลเอกสารจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย และภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ ตามที่ได้รับมอบหมาย
(ง) งานอบรม สัมมนา ประชุม
ตามนโยบายของประธานศาลฎีกา ๑. จัดทำโครงการอบรม สัมมนา ประชุม กำหนด และรายละเอียดต่างๆ
๒. ขออนุมัติโครงการ งบประมาณการอบรม/สัมมนา/ประชุม ขออนุมัติการเดินทางของผู้เข้าร่วมการสัมมนา
๓. ติดต่อประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง วิทยากร ผู้เข้าร่วมการสัมมนา สถานที่จัดสัมมนา
๔. ดำเนินการเกี่ยวกับการจัดทำหนังสือ/ บันทึกข้อความเชิญผู้เข้าร่วมการสัมมนา หนังสือเชิญวิทยากร คำกล่าวรายงาน คำกล่าวเปิด ประวัติวิทยากร การประชาสัมพันธ์ เอกสารประกอบการสัมมนา แบบประเมินผลโครงการ ฯลฯ
๕. ดำเนินการด้านค่าใช้จ่าย เช่น บันทึกข้อความยืมเงินค่าใช้จ่าย ตรวจรายงานการเดินทาง จ่ายเงินค่าเดินทาง ฯลฯ
(จ) จัดทำแผนปฏิบัติการ ๑. จัดทำคำของบประมาณประจำปี ทั้งงบประมาณงานประจำและงบประมาณโครงการ เสนอขออนุมัติประธานศาลฎีกา และส่งให้สำนักแผนงานและงบประมาณ
๒. ตรวจสอบวงเงินที่ได้รับการจัดสรรตามที่คณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม มีมติอนุมัติแผนการใช้จ่ายงบประมาณประจำปี และแผนการใช้จ่ายงบประมาณประจำปี
๓. จัดทำแผนปฏิบัติงานในรายละเอียดงานโครงการของหน่วยงานให้สอดคล้องกับนโยบายประธานศาลฎีกา และงบประมาณที่ได้รับการจัดสรร
๔. ดำเนินงาน ควบคุมการใช้จ่ายงบประมาณให้อยู่ในวงเงินประเภทงบรายจ่าย แหล่งวงเงิน และวัตถุประสงค์ตามแผนการใช้จ่ายงบประมาณประจำปีที่ได้รับ และใช้จ่ายงบประมาณในแต่ละงาน/ กิจกรรม และโครงการให้ถูกต้องตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง
(ฉ) จัดทำรายงานประจำปีของประธานศาลฎีกา ๑. รวบรวมภารกิจของประธานศาลฎีกาที่กำหนดตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการ
ศาลยุติธรรม พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 และภารกิจในการปฏิบัติราชการพิเศษต่างๆ
๒. รวบรวมผลการดำเนินงานตามภารกิจต่างๆ ของประธานศาลฎีกาตามนโยบายการบริหารศาลยุติธรรม ได้แก่
• การมอบแนวทางในการบริหาร
ศาลยุติธรรมในงานพิธีการต่างๆ และมอบนโยบายทางการปฏิบัติงานทางสาร โอวาท
คำนิยม ฯลฯ
• การพัฒนาระเบียบฯ ข้อกำหนด ข้อบังคับ ซักซ้อมทำความเข้าใจในการปฏิบัติโดยการประชุม สัมมนา อบรมข้าราชการตุลาการ ข้าราชการ
ศาลยุติธรรมที่เกี่ยวข้อง
• การตรวจราชการและประชุมผู้บริหารศาลยุติธรรมทั่วประเทศ
• การเสริมสร้างความสัมพันธ์และความร่วมมือกับหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมในประเทศ และต่างประเทศ
• เสริมสร้างความยุติธรรมและการบริการประชาชนให้ได้รับความ
เป็นธรรม
๓. จัดทำหนังสือรายงานประจำปีของประธานศาลฎีกา เพื่อรวบรวมผลการดำเนินงานในภารกิจต่างๆ ของประธานศาลฎีกาที่เป็นประโยชน์เผยแพร่แก่ผู้บริหารศาลยุติธรรม และผู้ปฏิบัติงาน ได้นำไปประยุกต์ใช้กับการกำหนดแนวทางการทำงานในโอกาสต่อไป
(ช) ประสานงานกับคณะรัฐมนตรี รัฐสภา หน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม ๑. ติดต่อ ประสานงานกับคณะรัฐมนตรี รัฐสภา หน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมเพื่อติดตามการพัฒนากฎหมายที่เป็นบรรทัดฐานสำหรับการปฏิบัติงานกัน
๒. ประสานงานกับหน่วยงานภายในศาลยุติธรรมเพื่อทำความเข้าใจร่วมกันในการปฏิบัติงานตามนโยบายประธานศาลฎีกา
(ซ) เร่งรัด ติดตาม และรายงานผลการดำเนินงานของหน่วยงานในการดำเนินการตามที่ประธานศาลฎีกาและรองประธานศาลฎีกามอบหมาย ๑. จัดทำและพัฒนาแบบรายงานผลการปฏิบัติงานตามนโยบายประธานศาลฎีการ่วมกับสำนักเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลผลการดำเนินงานตามนโยบายประธาน
ศาลฎีกาของศาลยุติธรรมทั่วประทศและหน่วยงานสำนักงานศาลยุติธรรม
๒. ประสานงาน ตอบข้อซักถามแก่ศาลยุติธรรมทั่วประเทศและหน่วยงานสำนักงาน
ศาลยุติธรรมเกี่ยวกับการกรอกข้อมูลที่ถูกต้อง ตรงตามวัตถุประสงค์ของการจัดเก็บข้อมูล
๓. เร่งรัด ติดตามการจัดส่งข้อมูลจาก
ศาลยุติธรรมทั่วประทศและหน่วยงานสำนักงานศาลยุติธรรม เพื่อให้เป็นไปตามกำหนดเวลา ๖ เดือน/ครั้ง
๔. รวบรวมและสรุปผลการดำเนินงานของ
ศาลยุติธรรมทั่วประเทศและหน่วยงานสำนักงานศาลยุติธรรมตามนโยบายประธานศาลฎีกา เสนอประธานศาลฎีกา เพื่อกำหนดทิศทางการกำหนดนโยบายประธานศาลฎีกาต่อไป
ส่วนกฎหมายและระเบียบ (ก) เสนอความเห็นเพื่อประกอบการพิจารณาสั่งการของประธานศาลฎีกาในเรื่องและปัญหาต่าง ๆ เกี่ยวกับกฎหมายและระเบียบในการปฏิบัติราชการ
ที่อยู่ในหน้าที่ของประธานศาลฎีกา งานธุรการ
๑. การรับหนังสือร้องทุกข์ ร้องเรียน ขอความเป็นธรรม
๒. การส่งหนังสือแจ้งเรื่องราวร้องทุกข์ ร้องเรียน ขอความเป็นธรรม (ผู้ร้องหรือสำนักงานศาลยุติธรรมหรือหน่วยงานอื่น ๆ)
๓. การพิมพ์บันทึกและหนังสือราชการ
๔. การจัดเตรียมเอกสารเสนอผู้บริหาร
๕. การลงบัญชีและคุมแฟ้มลับเสนอผู้บริหารและติดตามแฟ้มเสนอผู้บริหาร
๖. ค้นหาและจัดเก็บเรื่องราว
๗. บันทึกข้อมูลเรื่องราวในระบบสืบค้นในโปรแกรมคอมพิวเตอร์
๘. คัดถ่ายเอกสารประกอบการพิจารณาและส่งหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง

งานนิติการ
๑. ให้การต้อนรับและรับเรื่องราวร้องทุกข์ ร้องเรียน ขอความเป็นธรรม ที่ประชาชนมายื่นด้วยตนเอง
๒. ให้คำปรึกษา แนะนำแก่ประชาชนที่มาติดต่อขอคำปรึกษาแนะนำ ตอบข้อซักถามเกี่ยวกับกฎหมายและระเบียบในการปฏิบัติราชการที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของประธานศาลฎีกา
๓. ให้คำปรึกษา แนะนำแก่ประชาชนที่ติดต่อขอคำปรึกษาแนะนำทางโทรศัพท์
๔. ยกร่างสรุปย่อข้อเท็จจริงเรื่องร้องทุกข์ ร้องเรียน ขอความเป็นธรรม
๕. ค้นคว้ากฎหมาย ระเบียบที่เกี่ยวข้องกับประเด็นเรื่องร้องทุกข์ ร้องเรียน ขอความเป็นธรรม
๖. ประสานความร่วมมือเกี่ยวกับข้อมูลกับหน่วยงานอื่น ๆ
ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องร้องทุกข์ ร้องเรียน ขอความเป็นธรรม
๗. ทำความเห็นเกี่ยวกับเรื่องราวร้องทุกข์ ร้องเรียน ขอความเป็นธรรม เสนอประธานศาลฎีกาพิจารณาสั่ง
๘. ร่างหนังสือโต้ตอบผู้ร้องทุกข์ ร้องเรียน ขอความเป็นธรรม สำนักงานศาลยุติธรรมและหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
๙. รายงานสถิติและสรุปผลการปฏิบัติงานต่อผู้บังคับบัญชา
(ก) เสนอความเห็นเพื่อประกอบการพิจารณาสั่งการของประธานศาลฎีกาเกี่ยวกับการอุทธรณ์และการวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ที่เสนอต่อประธานศาลฎีกา งานธุรการ
๑. การรับหนังสือรายงานผลการสอบสวน คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัย คำสั่งลงโทษทางวินัยและอุทธรณ์คำสั่งหรือทบทวนการลงโทษทางวินัย(ก.ต) อุทธรณ์คำสั่ง (ก.ศ) ขอขยายระยะเวลาสอบสวน
๒. การส่งผลการพิจารณาเรื่องการดำเนินการทางวินัยคืนสำนักงานศาลยุติธรรม
๓. การจัดเตรียมเอกสารเสนอผู้บริหาร
๔. การลงบัญชีและคุมแฟ้มลับเสนอผู้บริหารและติดตามแฟ้มเสนอผู้บริหาร
๕. ค้นหาและจัดเก็บเรื่องราว
๖. การพิมพ์บันทึกและพิมพ์หนังสือราชการ
๗. บันทึกข้อมูลเรื่องราวในระบบสืบค้นในโปรแกรมคอมพิวเตอร์
๘. คัดถ่ายเอกสารประกอบการพิจารณาและส่งหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
งานนิติการ
๑. ยกร่างสรุปย่อข้อเท็จจริงการรายงานสอบข้อเท็จจริงในเบื้องต้นและเรื่องสอบสวนการดำเนินการทางวินัย เช่น รายงานผลการสอบสวน คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัย คำสั่งลงโทษทางวินัยและอุทธรณ์คำสั่งหรือทบทวนการลงโทษทางวินัย(ก.ต) อุทธรณ์คำสั่ง (ก.ศ) ขอขยายระยะเวลาสอบสวน
๒. ค้นคว้ากฎหมาย ระเบียบที่เกี่ยวข้องกับเรื่องการดำเนินการทางวินัย เช่น การสอบสวน การขอยายเวลา การอุทธรณ์คำสั่ง
๓. ประสานความร่วมมือเกี่ยวกับข้อมูลกับหน่วยงานอื่น ๆ
ที่เกี่ยวข้องกับเรื่อง
๔. วิเคราะห์ปัญหาและจัดทำความเห็นเกี่ยวกับเรื่องราวร้องทุกข์ ร้องเรียน ขอความเป็นธรรม เสนอประธานศาลฎีกาพิจารณาสั่ง
๕. ร่างหนังสือโต้ตอบหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและหนังสือแจ้งผู้ร้อง
๖. รายงานสถิติและสรุปผลการปฏิบัติงานต่อผู้บังคับบัญชา
(ก) ค้นคว้าทางวิชาการและดำเนินการเกี่ยวกับกฎหมายและระเบียบ รวมทั้งการประมวลและยกร่างระเบียบ ประกาศ ข้อบังคับ คำสั่ง ข้อกำหนด คำแนะนำหรือคำวินิจฉัยในอำนาจหน้าที่ของประธาน
ศาลฎีกา ตามที่ได้รับมอบหมาย งานธุรการ
๑. พิมพ์รายงานทางวิชาการและหนังสือราชการ
๒. จัดเตรียมเอกสารประกอบเสนอผู้บริหาร
๓. จัดเก็บเอกสารทางวิชาการ
๔. เสนอแฟ้มงานผู้บริหาร
งานนิติการ
๑. ศึกษา วิเคราะห์ปัญหาข้อเท็จจริง กฎหมายและระเบียบที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของประธานศาลฎีกา
๒. จัดทำสรุปปัญหาข้อเท็จจริง ข้อกฎหมายและระเบียบ ข้อเสนอแนะ
๓. ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
๔. จัดทำความเห็นเสนอประธานศาลฎีกาพิจารณาสั่ง
๕. ดำเนินการตามคำสั่งของประธานศาลฎีกา


ที่ตั้งบริษัท

สำนักประธานศาลฎีกา 120 หมู่ 3, ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา อาคาร A ชั้น 8, ถนนแจ้งวัฒนะ, ทุ่งสองห้อง, หลักสี่, กรุงเทพมหานคร, 10210

จำนวนพนักงาน

40


สวัสดิการ

-


วิธีการเดินทาง
สายรถเมล์ : -
การเดินทางเพิ่มเติม : -
บริษัทที่คุณอาจสนใจ