เด็กฝึกงาน.com

น้องแฮปปี้ ถ้าพี่สายเปย์

  • บทความ HR
  • 2/6/17
  • 1,512
น้องแฮปปี้ ถ้าพี่สายเปย์

คุณเคยรู้บ้างไม๊ว่า… บริษัทคุณจ่ายหนักแค่ไหน ตั้งแต่เงินเดือน ค่าเดินทาง ค่าโทรศัพท์ ค่าที่พัก ค่ารักษาพยาบาล ค่าทำงานล่วงเวลา ปรับเงินประจำปี จนไปถึงโบนัสประจำปี  แน่นอนว่าตัวเลขพวกนี้คือสิ่งที่ลูกจ้างอย่างเราต้องการ

 

สำหรับเด็กฝึกงานเรื่องของ “เงินค่าตอบแทน”หรือที่เราเรียกมันว่า “เบี้ยเลี้ยง” ก็เป็นอีกหนึ่งเรื่องที่บริษัทควรพิจารณาด้วยเช่นกัน

 

แล้วทำไม “เบี้ยเลี้ยง” ถึงเป็นเรื่องที่ควรพิจารณาล่ะ ?
. . . . .

. . . .

. . .

. .

“คนเรามันก็ต้องกินต้องใช้ ถึงแม้ว่าจะเป็นเด็กฝึกงานก็ตาม” นั่นคือสิ่งแรกที่คนส่วนใหญ่คิด ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องผิดอะไร เพราะหลายบริษัทก็จะมีสวัสดิการที่ดีและมีงบประมาณที่สนับสนุนโครงการรับเด็กฝึกงานอยู่แล้ว ทำให้บริษัทนั้นถูกมองว่าเป็นเหมือนกับแม่เหล็กที่คอยดึงดูดเด็กให้มาสนใจฝึกงานกันมากขึ้น ซึ่งนี่คือจุดแข็งและเป็นกลยุทธ์หนึ่งของบริษัทที่จะทำให้ได้ “เด็กฝึกงาน”

 

แล้วรู้หรือไม่ ว่าบริษัทจะได้อะไรจากการจ่ายเบี้ยเลี้ยงให้กับ“เด็กฝึกงาน”

ถ้าพูดถึงข้อดีของการจ่าย “เบี้ยเลี้ยง” ให้กับเด็กฝึกงาน เรามีข้อมูลที่น่าสนใจและสามารถอ้างอิงได้จาก พรบ.ส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงานปี 2545 ซึ่งสรุปใจความได้ว่า “การฝึกเตรียมเข้าทำงานของนักศึกษาหากมีการจ่ายเบี้ยเลี้ยงตามจำนวนวันฝึกในอัตราที่ไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของอัตราค่าจ้างขั้นต่ำสูงสุด ตามกฎหมายค่าจ้างขั้นต่ำที่ใช้อยู่ในขณะนั้น จะสามารถรับการลดหย่อนภาษีได้ประมาณ 2 เท่าตามพระราชกฤษฎีกาที่กำหนด”

ดังนั้นการจ่ายเบี้ยเลี้ยงตามหลักเกณฑ์ที่ พรบ. กำหนด นอกจากจะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการจ้างแรงงานไปเกือบครึ่งหนึ่งของค่าแรงขั้นต่ำแล้ว ยังสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ด้วย

 

ในความเป็นจริง

การจ่าย “เบี้ยเลี้ยง” แบบนี้ก็คงไม่ใช่ผลเสียต่อบริษัทมากเท่าไรนัก

ซี่งต้องบอกว่า ปัจจุบันหลายบริษัทได้มองเห็นความสำคัญของ “เด็กฝึกงาน” มากขึ้น

มีการจ่ายเบี้ยเลี้ยงให้กับนักศึกษาฝึกงานมากกว่าค่าจ้างขั้นต่ำก็มี

เชื่อเหลือเกินว่า บริษัทเหล่านี้กำลังมองเห็นพลังแฝง ศักยภาพ หรือความสามารถอะไรบางอย่าง ของนักศึกษา

จึงพร้อมที่จะมอบโอกาสให้กับนักศึกษาทุกคน

ฝึกงาน เบี้ยเลี้ยง